สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 3
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 254
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 5,208,588
กรุณาฝาก Email ของท่าน
  เพื่อรับข่าวสาร ที่น่าสนใจ
29 เมษายน 2567
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
 
10  11  12  13 
14  15  16  17  18  19  20 
21  22  23  24  25  26  27 
28  29  30         
             
 
"นักเขียนออนไลน์” อาชีพเงินล้านในแดนมังกร
[16 เมษายน 2555 09:54 น.]จำนวนผู้เข้าชม 6377 คน
 นักเขียนออนไลน์” อาชีพเงินล้านในแดนมังกร

 

ขณะที่นักเขียนในแบบเดิมๆ นั้น อาจจะต้องใช้เวลาเป็น 10 ปีในการสร้างผลงาน ยิ่งใหญ่สักเล่ม แต่ปัจจุบันนี้ปรากฏอาชีพนักเขียนแนวใหม่ นั่นคือมีนักศึกษาจากรั้วมหาวิทยาลัยในเมืองจีนมากมายที่หาเงินเป็นกอบเป็นกำได้จากการเขียนเรื่องลงในอินเตอร์เนทผ่านทางเวบไซต์ บางรายมีรายได้ต่อปีมากกว่า 1 ล้านหยวนเลยทีเดียว ซึ่งแม้ว่าหลายรายนั้น การเขียนงานจะเป็นเพียงการหารายได้นอกเวลาเรียนเท่านั้น แต่พวกเขาสามารถสร้างงานได้อย่างรวดเร็ว โดยใน 1 เดือน สามารถเขียนงานได้ถึง 5 แสนตัวอักษรจีนทีเดียว 


 เส้นทางสู่ “นักเขียนออนไลน์” 
       
       
จางเหล่ย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในภาควิชาชีวะโมเลกุล คณะชีววิทยา มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ เป็นอีกคนหนึ่ง ที่ไม่ได้มีชื่อเสียงในมหาวิทยาลัยแต่อย่างใด แต่ในโลกไซเบอร์ เขาเก็บเงินจากการเขียนเรื่องลงเวบไซต์ เป็นเวลา 1 ปีครึ่ง จนกระทั่งซื้อรถยนต์ออกมาขับ กลายเป็นนักศึกษากลุ่มน้อยในมหาวิทยาลัยที่มีรถขับมาเรียนไปแล้ว ถึงตอนนี้ เพื่อนนักเรียนนักศึกษาจึงเริ่มทราบว่า นิยายทางอินเตอร์เนทของเขาได้รับการตีพิมพ์มาแล้ว 3 เล่ม และเป็นนักเขียนที่เขียนหนังสือมา 2 ล้านตัวอักษรแล้ว
       
       
จางเหล่ย ชอบขีดเขียนมาตั้งแต่เด็กๆ และเขียนร้อยแก้วลงในเวบไซต์มานานมากแล้ว เมื่อปิดเทอมฤดูร้อนปีที่แล้ว เขาเริ่มเขียนนวนิยาย ส่งไปลงในเวบไซต์วรรณกรรมแห่งหนึ่ง และอย่างไม่คาดคิด ตัวหนังสือของเขาเป็นที่นิยมในหมู่นักอ่านอย่างรวดเร็ว จำนวนคลิกที่เข้าไปชมพุ่งพรวดขึ้นไปถึงระดับหลายแสนคลิก หลังจากนั้นเขาจึงเซ็นสัญญากับทางเวบไซต์วรรณกรรมดังกล่าว เริ่มต้นอาชีพนักเขียนออนไลน์ของตน ปัจจุบัน นิยายเรื่อง “ภรรยาเกาหลีจอมอันธพาลของผม”《我的韩国流氓老婆》นั้น มียอดคลิกเข้าไปอ่านรวมทั้งหมดถึงหลายสิบล้านคลิก
       
       “
ตอนแรกแค่คิดว่าจะเขียนอะไรลงเวบไซต์เล่นๆ เป็นการฆ่าเวลา ไม่คิดไม่ฝันว่าจะหาเงินจากการเขียนได้มากขนาดนี้” รายได้มหาศาลสร้างความประหลาดใจให้กับจางเหล่ยเป็นอันมาก โดย ณ ปัจจุบัน เขาเซ็นสัญญากับเวบไซต์วรรณกรรมทั้งหมดรวม 2 แห่ง


จินตนาการสูง ประสบการณ์ต่ำ
       
       “
เนื้อหาของงานเขียนที่นักเขียนวัยเรียนเหล่านี้เขียนออกมานั้น ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับเกมส์ออนไลน์ ” บรรณาธิการของเวบไซต์วรรณกรรมแห่งหนึ่งกล่าว “สิ่งที่พวกเขาเขียนออกมามักจะเป็นเรื่องที่พวกเขาจินตนาการขึ้นเป็นส่วนใหญ่ หลายรายใช้เกมออนไลน์ที่พวกเขาชื่นชอบมาเป็นแรงบันดาลใจในงานเขียนด้วย ดังนั้นการเขียนจึงไม่มีข้อจำกัดหรือกรอบใดๆ พวกเขาสามารถเขียนได้ครอบจักรวาล”
       
       
งานเขียนของนักศึกษาเหล่านี้ มักจะใช้ความแปลกประหลาดของเรื่องราวมาเป็นจุดขาย ทักษะการเขียนไม่จำเป็นต้องสูง แต่ต้องเขียนให้เร็ว เช่น จางเหล่ย ที่เขียนได้โดยเฉลี่ย 6 แสนตัวอักษรใน 3 เดือนนั้นถือว่าความเร็วอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น บางคนสามารถเขียนได้ 7 พันตัวอักษรในเวลาเพียงชั่วโมงเดียว หรือเขียนได้ถึง 5 แสนตัวอักษรในเวลาเพียง 1 เดือน “พวกเราชอบเขียนงานแบบม้วนเดียวจบ เรียกว่าแทบจะไม่มีการแก้ไขกันเลย” จางเหล่ยยอมรับว่าหากมองในแง่ของวรรณกรรมดั้งเดิมแล้วนั้น ผลงานของนักศึกษาอย่างพวกเขา แม้ว่าจะมี “เพชรน้ำดี” ปนอยู่ แต่ส่วนมากจะเป็น วัฒนธรรมจานด่วน” เสียมากกว่า จึงทำให้คนไม่น้อยดูแคลน
       
       
งานเขียนในเวบไซต์หลายชิ้นใช้จินตนาการที่ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ทางสังคมสักกี่มากน้อย วัตถุดิบในการเขียนส่วนใหญ่มากจากในภาพยนตร์ การ์ตูนหรือเกมต่างๆ ดังนั้นนักเขียนออนไลน์ส่วนใหญ่จึงมีแต่นักศึกษา กระทั่งนักเรียนมัธยมหรือเด็กประถมก็เป็นได้เช่นกัน



นักเขียนออนไลน์เกิดเร็ว-ดับเร็ว
       
       “
ความแพร่หลายของงานเขียนออนไลน์นั้นเรียกได้ว่าในหอพักของทางมหาวิทยาลัย ใน 1 ห้องต้องมีคนอ่านงานเขียนทางอินเตอร์เนทอย่างน้อย 1 คน และในทุกๆ 4 ห้องของหอพัก ต้องมีคนที่เขียนเรื่องทางอินเตอร์เนทอย่างน้อย 1 คน” คำกล่าวข้างต้นอาจจะดูเกินจริง แต่ก็สะท้อนภาพความนิยมเขียนงานผ่านเวบไซต์ของบรรดานักศึกษาแดนมังกรได้อย่างดี
       
       
หลิวอิง บรรณาธิการเวบไซต์วรรณกรรมแห่งหนึ่งเล่าว่า จากการสำรวจของเวบไซต์พบว่า ในเวบไซต์วรรณกรรมที่ค่อนข้างใหญ่จำนวน 4 แห่งของเซี่ยงไฮ้นั้น มีผู้เขียนเรื่องทางอินเตอร์เนทเป็นแสนคน โดย 2000 กว่าคนในนั้นได้เซ็นสัญญาเป็นนักเขียนออนไลน์ให้กับทางเวบไซต์ ซึ่ง 1 ใน 5 ของนักเขียนออนไลน์เป็นชาวเซี่ยงไฮ้ ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา และบางส่วนเพิ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย
       

 
      แม้ว่าขณะนี้งานเขียนออนไลน์จะไดรับความนิยมอย่างมาก แต่ผลงานที่โดดเด่น และโด่งดังนั้นมีเป็นส่วนน้อย ส่วนใหญ่จะไปไม่ถึงขั้นตอนในการเซ็นสัญญา นอกจากนั้น หลิวอิงยังกล่าวว่า เนื่องจากความจำกัดในวัตถุดิบของงานเขียนและประสบการณ์ ส่งผลให้ในบรรดานักเขียนออนไลน์มือทองที่มีผลงานสร้างรายได้เป็นล้านหยวนในขณะนี้นั้น ในผลงานต่อไปจะมีคนอ่านหรือไม่ ยังคงเป็นสิ่งที่ไม่อาจคาดเดาได้
       
       
ในช่วงเวลาปีกว่าๆนี้ จางเหล่ยได้เรียนรู้ถึงความไม่มั่นคงในการเป็นนักเขียนออนไลน์มาแล้วอย่างลึกซึ้ง นักเขียนออนไลน์ที่โด่งดัง มีไม่น้อยที่อยู่ๆก็หายไปอย่างไร้ร่องรอย เขาเชื่อว่านักเขียนออนไลน์เป็นอาชีพเสริมเท่านั้น ทางที่ดีนักเรียนนักศึกษาไม่ควรยึดเป็นอาชีพหลัก ทุกวันนี้ ตัวของเขาเองนอกจากจะเขียนงานทุกวันแล้ว ยังพยายามหางานอื่นที่มั่นคงกว่าไปด้วย ...


กวีรัตนโกสินทร์

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

 4 อย่า  5  ต้อง  บ่มเพาะนักเขียน



   
บนเวทีพูดคุยระหว่างนักเขียน ในโครงการ “บ่มเพาะนักเขียนหน้าใหม่” ที่ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ได้จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ณ จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อต้องการสร้างนักเขียนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพทั้งเนื้อหา และการก้าวสู่นักเขียนมืออาชีพ โดยมีนักเขียนมีชื่อเสียงของไทยหลายๆ ท่าน  มาร่วมพูดคุยถ่ายทอดความรู้ แก่นักเขียนรุ่นลูกรุ่นหลาน

    การบ่มเพาะครั้งนี้ เริ่มขึ้นด้วยคำบอกเล่าจากประสบการณ์จริง บนเส้นทางนักเขียนของศิลปินแห่งชาติ นาม เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ที่ทุกคนต่างอยากรู้ถึงความเป็นมาของศิลปินที่ถูกขนานนามว่า “กวีแห่งรัตนโกสินทร์” คอลัมน์ คนในวัฒนธรรม ถ่ายทอดบางมุม

     เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (ปี 2536) มาเอื้อนเอ่ยถ้อยคำสำนวนแห่งกวี ที่เป็นทั้งต้นแบบของผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรมไทย ที่แฝงไว้ซึ่งปรัชญาแห่งชีวิต ลิขิตขีดเขียนให้เรียนรู้ และให้คนรุ่นใหม่สนใจใคร่ศึกษา เสมือนครูบาอาจารย์ผู้ถ่ายทอดแนวคิดที่ดีมีค่า ให้สืบสานรักษาและคงคุณค่าคู่ชาติไทยสืบไป  

    เนาวรัตน์ วัย 71 ปี (2483) บ้านเกิดชาวอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี  เป็นบุตรชายคนเดียวในพี่น้อง 5 คน  มีบิดาเป็นหลงจู๊โรงฝิ่นที่ชื่นชอบการแต่งโคลงกลอน และศึกษาศิลปะการดนตรีไทยอย่างลึกซึ้ง  ไม่ต่างไปจากมารดาที่ชื่นชอบการอ่านวรรณคดีไทยเช่นกัน นับเป็นส่วนหนึ่งของแรงผลักดันให้เขาก้าวเดินบนเส้นทางนักเขียนอย่างมุ่งมั่น และได้สร้างสรรค์ผลงานมากมายให้สังคมได้รู้จักตัวเขา การเป็นนักเขียนที่มีอัตลักษณ์ และเป็นเลิศทางด้านวรรณศิลป์อย่างโดดเด่น  

    เนาวรัตน์ จบการศึกษาด้านนิติศาสตร์  จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2508 ได้ทำงานครั้งแรกประจำกองบรรณาธิการนิตยสาร “วิทยาสาร” ของบริษัทไทยวัฒนาพานิช  ซึ่งเป็นนิตยสารชั้นแนวหน้าของไทยในสมัยนั้น  และด้วยความสามารถในงานวรรณกรรมของเขา ผลงานร้อยกรองเล่มแรก “คำหยาด” ได้สร้างชื่อให้กับนักเขียนหน้าใหม่ ให้เป็นที่รู้จักในวงการนักเขียนไทยได้ไม่ยากนัก 

    ด้วยการเป็นนักเขียนที่เคารพในบทกวีโบราณ ผลงานชุด  “ชักมาชมเมือง” “วารีดุริยางค์” ได้ถูกเลือกตีพิมพ์ประกอบการเรียน โดยกระทรวงศึกษาธิการ  และมีผลงานอีกหลายชิ้นได้รับการตีพิมพ์ในหลายภาษา อย่างเช่น “นกขมิ้น” ได้รับการคัดเลือกจากสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย นำไปเผยแพร่ในงานกวีนานาชาติ ณ ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี

    บทบาทที่เป็นตัวตนของเนาวรัตน์  คือการสร้างสรรค์ผลงานวรรณกรรมไทย ที่สะท้อนความดื่มด่ำในสมบัติของชาติ ด้านภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มีหลักปรัชญาแห่งพุทธธรรมแฝงไว้อย่างประณีตงดงาม   เขามีความเข้าใจในวรรณศิลป์ไทย ด้วยการใช้ฉันทลักษณ์หลายรูปแบบ ซึ่งเขาสนใจและให้ความสำคัญกับความเสนาะเพราะพริ้งของบทกวี และถือวรรณคดีโบราณเป็นต้นแบบ  ซึ่งผลงานบทร้อยกรอง “เพียงความเคลื่อนไหว” ได้ประกาศความเป็นกวีที่มีชื่อเสียงให้เนาวรัตน์อีกครั้ง ในฐานะรางวัลกวีซีไรต์ คนแรกของประเทศในปี พ.ศ. 2523     

     อีกผลงานที่น่าสนใจไม่ต่างกับบทกวี คือ ความเรียง อย่างเรื่อง  “ที่นี่ขัดข้องหนอ” “มุมที่ไม่มีเหลี่ยม” “ดาบที่หมกอยู่ในจีวร” “เหยียบแผ่นดินหยก” “แผ่วผ่านธารน้ำไหล” ฯลฯ  เป็นผลงานที่สะท้อนให้เห็นถึงการสื่อสารด้านภาษา กับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน ซึ่งได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างหลากหลาย ทำให้งานวรรณกรรมไทยยังคงคุณค่าทั้งในด้านภาษา และสุนทรียศาสตร์ เกิดการพัฒนารูปแบบงานเขียนทั้งแบบอนุรักษ์และแบบนิยม ที่นำมาไว้ด้วยกันได้อย่างสมบูรณ์ สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในสมัยนั้นด้วย

    เมื่อถามถึงหนังสือหรืองานเขียนที่นักกวีท่านนี้ชื่นชอบ และอยากแนะนำให้ผู้อ่านและนักเขียนหน้าใหม่ได้ศึกษา ทั้งประโยชน์ในด้านเนื้อหาสาระ และเทคนิคการสร้างสรรค์ ซึ่งเขาได้บอกกล่าวกับน้องๆ นักเขียนหน้าใหม่ว่า

"หนังสือที่ต้องอ่าน อันดับแรกคือ “ขุนช้างขุนแผน” ต้นแบบวรรณกรรมไทย อันดับสองงานเขียนของไม้เมืองเดิมเล่มไหนก็ได้เพราะ พ็อตเรื่องเหมือนกันหมด ตัวโกงจะต้องเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ อันดับสาม “ข้างหลังภาพ” คำสุดโรแมนติก “โดน” ไม่คิดอะไรก็ได้ แต่ถ้าคิดก็จะได้อะไรเยอะเลย เผยให้เห็น ทัศนะของหญิงไทยอย่าง มรว. กีรติ  อันดับที่สี่ผลงานของจิตร ภูมิศักดิ์ หนังสือชื่อ ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอม  และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ อันดับห้า “ตัวกูของกู” ของท่านพุทธทาส ภิกขุ ที่ชี้ว่ารากของเราอยู่ที่ไหน หนังสือเล่มนี้จะทำให้เรารู้จักความเป็นเรา” 

     การสร้างสรรค์งานวรรณกรรมทั้งในอดีตและปัจจุบัน ล้วนเป็นการจารึกไว้ซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ  เสมือนเครื่องมือในการสื่อสาร รับรู้ และสืบค้นร่องรอยการเป็นไปของกาลเวลา งานวรรณกรรมจึงมีเสน่ห์ทั้งในด้านคุณค่าของงานศิลปะ และสุนทรียศาสตร์แห่งจินตนาการ  ที่นักเขียนต้องการสื่อสาร  หากแต่นักเขียน หรือผู้แต่งต้องไม่ตกเป็นเหยื่อของความทันสมัย “นักเขียนต้องจับใจตัวเองได้ ก็จะจับใจผู้อ่านได้ด้วย” คำพูดของศิลปินแห่งชาติที่ได้เผยถึงอาวุธของนักกวีที่ต้องมี “4 อย่า 5 ต้อง” คือ

    “ 4 อย่า คือ หนึ่ง อย่าตกยุค ต้องรู้ว่านักเขียนไทยมีกี่คน ตายกี่คน  สอง อย่าหลงยุค  ไม่รู้เรื่องรู้ราวว่าเขาไปถึงไหน สาม อย่าประจบยุค คือ อย่าตามเขาไป  สี่ อย่าล้ำยุค เดินไปไกลจนลืมตนเอง สำหรับ 5 ต้อง คือ ต้องทันยุค  สอง ต้องเป็นปากเสียงผู้เสียเปรียบ สิ่งนี้สำคัญมาก คือ ให้รู้ว่าเวลานี้บ้านเราปัญหาคืออะไร เขียนเพื่อใคร สาม ต้องตัดทัศนะคติปัจเจก อย่าเอาส่วนรวมมาขึ้นกับส่วนตัว สี่ ต้องมีจิตสำนึกการเมือง คนที่ไม่มีจิตสำนึกมากสุด คือนักการเมือง ถ้าเรามีจิตสำนึกปากกาของเราจะแหลมคม ห้า ต้องทำงานอย่างราชสีห์  ไม่ใยดีกับมงกุฎที่สวมครอบ”

    การสร้างสรรค์งานศิลปะใดๆ สักชิ้นหนึ่ง ต้องใส่ใจของผู้สร้างสรรค์งานลงไปอย่างเต็มที่ การฝึกฝน เรียนรู้ และหมั่นเขียนหมั่นสร้าง ดุจประหนึ่งคือการลับคมมีดให้แหลมคมอยู่ตลอดเวลา ปลายปากกาก็เช่นกันดังปรัชญาที่ทิ้งไว้ให้ศิลปินหน้าใหม่ได้ฉุดคิด และถือปฏิบัติตาม หากในอนาคตเส้นทางนักเขียน ได้เดินไปอย่างมีคุณภาพ

    เฉกเช่นนักปราชญ์ศิลปินแห่งชาติเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์




ที่มาของภาพและบทความ:
www.manager.co.th
http://www.siamrath.co.th 
Internet



สาระความรู้ทั่วไปสำหรับเจ้าของน้องตูบ
- อาหารแสลง ที่ควรเลี่ยงเมื่อป่วย [16 เมษายน 2555 09:54 น.]
- พืชขาดธาตุอาหารอะไร ?..ใส่ใจสักนิด... [16 เมษายน 2555 09:54 น.]
- ปวดท้อง...ลางบอกโรคร้ายของคุณ [16 เมษายน 2555 09:54 น.]
- การรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำและลดความเสี่ยง จากโรคมะเร็ง [16 เมษายน 2555 09:54 น.]
- ซอสปรุงรส [16 เมษายน 2555 09:54 น.]
- รู้จักไหม?...“ต้นผึ้ง” มีหนึ่งเดียวที่ราชบุรี [16 เมษายน 2555 09:54 น.]
- เลือดจระเข้ [16 เมษายน 2555 09:54 น.]
- การทำน้ำด่าง (อัลคาไลน์) สำหรับดื่มอย่างง่าย [16 เมษายน 2555 09:54 น.]
- กิน ‘สมอ’ ดีเสมอ [16 เมษายน 2555 09:54 น.]
- ปัสสาวะหลวงพ่อ [16 เมษายน 2555 09:54 น.]
ดูทั้งหมด

  แสดงความคิดเห็น

ตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ ตัวขีดกลาง ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา รูปภาพ ลิ้งก์ ขนาดต้วอักษร สีต้วอักษร

ชื่อ: *
E-mail : *
ไม่ต้องการแสดง Email
รหัสตรวจสอบ : Security Image
* กรุณากรอกรหัสที่อยู่ในรูป

Copyright@2010 by www.nongtoob.com All right reserved.
Engine by MAKEWEBEASY